วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

การฝึกพูดในที่สาธารณะเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์


การพูด
กระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดย
       1   ภาษา         2 น้ำเสียง         3  อากัปกิริยา

แนวคิดพื้นฐานการพูดในที่สาธารณะ
1       คนทุกคนย่อมพูดได้
2       การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3       นักพูดที่ดีไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์
4       ในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจนไม่มีทางที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก
5       การฝึกพูดจะเป็นผลดีต่อบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก

ลักษณะของการพูด(General Types of Speech)
1.       แบบจูงใจ  หรือชักชวน (Persuasive Speech)
2.       แบบบอกเล่า หรือ บรรยาย (Informative or Instructive Speech)
3.       แบบบันเทิง (Recreative Speech)

การพูดใช้มาก 2 วิธี
1.       วิธีพูดแบบพูดสด
2.       วิธีพูดแบบผสมผสาน


บัญญัติ  10  ประการทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด
1       รู้เรื่องดี ก็พูดได้
2       เตรียมตัวไว้ ก็พูดดี
3       พูดทั้งที่ ต้องเชื่อมั่น
4       แต่งกายนั้น ต้องเหมาะสม
5       ปรากฏโฉม กระตือรือร้น
6       ไม่ลุกลน ใช้ท่าทาง
7       สบตาบ้าง อย่างทั่วถึง
8       ภาษาซึ้ง  เข้าใจง่าย
9       น้ำเสียงไซร้ เป็นธรรมชาติ
10 อย่าให้ขาดรูปธรรม

ศิลปะการพูดในโอกาสต่าง ๆ ในการพูด
1.       กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ
2.       กล่าวไว้อาลัย
3.       กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ
4.       กล่าวสดุดี
5.       กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ
6.       กล่าวต้อนรับ
7.       กล่าวแนะนำผู้พูด - องค์ปาฐก

ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่างๆ
1.       จุดมุ่งหมายของการชุมนุม
                  -  การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร
                 -  ผู้ฟังเป็นใคร มาประชุมในฐานะอะไร
                 -  สาระสำคัญของการชุมนุมอยู่ตรงไหน
2.       ลำดับรายการ
                -  มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร
                -  ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร กล่าวในนามใคร
               -  เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด หรือควรจะนานเท่าใด
               -  ก่อนหรือหลังการพูด มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดน่าสนใจพิเศาหรือไม่

เทคนิคในการพูดในโอกาสต่างๆ
1.       เปิดฉากให้น่าสนใจทันที
2.       จะให้ดี จงกล่าวสั้น ๆ
3.       พูดให้เกี่ยวข้องกับงานและคน
4.       อย่าสับสน จงพูดแต่ดี
5.       พูดให้มีหลักสุนทรพจน์

หลักการพัฒนาคำพูด 9 ประการ
1.       อ่านหนังสือพบประโยค หรือวลีมีคุณค่า จดไว้เป็นเสบียงกรัง
2.       จัดลำดับความคิดที่จะพูดให้คล้องจองเหมือนเรียงความ
3.       พูดจากหัวใจ  จริงใจ
4.       วิเคราะห์สถานการณ์การพูด คนฟัง สถานที่ เวลา เรื่องที่จะพูด
5.       ก่อนพูดเตรียมร่างกายให้ดี
6.       ดูเครื่องช่วยพูด เช่น ไมโครโพน
7.       พูดเหมือนการเขียน คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป
8.       ระลึกว่าการพูดเป็น ศาสตร์และ ศิลป์พูดให้สอดคล้องสีหน้าและอารมณ์
9.       กำหนดสารบัญการพูดในใจ จากใจ ที่ขึ้นใจ
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น