วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลภาพการแถลงข่าวเปิดตัวหนังสั้น สาขาการพัฒนาชุมชน













หลักการและพื้นฐานการออกแบบและนำเสนอการแถลงข่าว

ความหมายของการแถลงข่าว
การแถลงข่าว คือการกระจายข่าวสารของเราไปสู่สาธารณชน โดยผ่านสื่อสารมวลชน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์วิทยุสื่อสิ่งพิมพ์สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นการให้ข่าวสารโดยตรงผ่านคำแถลงของผู้แถลงข่าวหรือ Spokeperson

ข้อดีของการแถลงข่าว
1. ไมผ่านการตีความจากสื่อ
2.
ทำให้ข่าวสารมีความถูกต้อง ตรงตามวตัถุประสงค์ของผู้กระจายข่าวสาร
3.
การแถลงข่าวยังได้รับการยอมรับว่า เป็นสิ่งสำคัญ ที่สุดอย่างหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติอีกด้วย
4.
ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารในยุค ปัจจุบันผ่านสังคมออนไลน์ ได้เปิดโอกาสให้องค์กรเล็กๆ โรงเรียนสถาบันการศึกษา นักเรียนนักศึกษา หรือกลุ่มคนทั่วไป สามารถทำการแถลงข่าวได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนมากมายแต่ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ
5.
เยาวชนบางกลุ่มจดัการแถลงข่าวแล้วเผยแพร่ทางเว็ปไซด์Youtube เผยแพร่ข่าวสารทาง website,blog หรือแม้กระทั่ง Facebook, Hi5ของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าวควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้น การแถลงข่าวจึงไม่ใช่อาวธุสำคัญของการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติแต่เพียง อย่างเดียวหากแต่ยังเป็นอาวธุ สำคัญในการประชาสัมพันธ์ทั่วไปอีกด้วย  ทุกอย่างอยู่ที่การเตรียมการการวางแผน และลงมือทำ ...
ข้อสำคัญ 10 ข้อของการแถลงข่าว

1. วางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ว่าจะทำอะไรอย่างไรเมื่อไร
คู่มือการกำหนดสถานที่แถลงข่าว
-
สิ่งอำนวยความสะดวกสื่อมวลชน เช่น โทรศัพท์โทรสารเครื่องถ่ายเอกสารอินเตอร์เน็ต ห้องสุขา
-
ความยุ่งยากของระบบเสียง เช่น ลำโพงไมโครโฟน เสียงก้อง เสียงรบกวน หากเป็นภายนอก คำนึงถึง   เสียงลม แสงแดด
-
มุมพักคอยและเครื่องดื่ม อาหารว่างของผู้สื่อข่าว
คู่มือการกำหนดเวลา
-
กำหนดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์
-
ปกติควรใช้วัน อังคาร พุธ พฤหัสบดี
-
ไม่ตรงกับกิจกรรมที่สำคัญ อื่นๆ ที่สื่อมวลชนต้องไปทำข่าว
-
วันพิเศษบางวัน เช่น วันประกาศผลลอตเตอรี่ สื่อจะปิดต้นฉบับเร็วมาก
2.
ทำความเข้าใจกับทีมงาน ให้เข้าใจตรงกันว่า แผนเป็นอย่างไร ทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร
ภารกิจทีมงานแถลงข่าว
-
ทีมงานต้องเตรียมการรับมือกับสิ่งที่คาดไม่ถึง เช่น ไฟดับ ไมโครโฟนไม่ดัง มีผู้ก่อกวนการแถลงข่าวผู้ สื่อข่าวถามคำถามที่ไม่ควรถาม
-
ต้องคำนึงเสมอว่าการแถลงข่าวนี้มีความสำคัญ อย่างยิ่งในการสนับสนุนให้องค์กรบรรลุภารกิจ
-
สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อ
3.
เตรียมข้อมลู ข่าวสารเอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ที่จะใช้ในการแถลงข่าวเพื่อจัดทำ ชุดแถลงข่าว(Press kit) แจกผู้สื่อข่าวในวันแถลงข่าว
4.
เตรียมรายชื่อของสื่อและตัดสินใจว่าจะเชิญใครบ้าง
5.
ทำหนังสือเชิญร่วมทำข่าวการแถลงข่าวและแฟ๊กซ์ให้กับ สื่ออย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการแถลงข่าว
6.
เตรียมร่างคำแถลงข่าว ที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่ควรเกิน 10 นาที พร้อมแนวทางถามตอบ
ข้อจำกัดของสื่อมวลชน
-
สื่อวิทยุ โทรทัศน์มีเวลาที่จำกัดในการเสนอข่าวสาร หรือบทสัมภาษณ์ (เฉลี่ยไม่เกิน 2 นาทีต่อ 1 ข่าว)
-
สื่อสิ่งพิมพ์มีเนื้อที่จำกัดในการเสนอข่าว หรือบทสัมภาษณ์ดังนั้น คำแถลงข่าวต้องสั้น กระชับ ตรงประเด็น
7.
นำข้อมูล ทั้งหมดและคำแถลงข่าว มารวบรวมจัดทำ ข่าวประชาสัมพันธ์และชุดแถลงข่าวเพื่อแจกสื่อ มวลชน
8.
โทรหาผู้สื่อข่าวอีก 2 ครั้ง
-
ครั้งแรก 3 วันก่อนแถลงเพื่อยีนยันว่า ยังมีการแถลงข่าว
-
ครั้งที่สอง 1 วันก่อนแถลงเพื่อยืนยันการมาร่วม
9.
ในวันแถลงข่าวให้มาเตรียมการก่อนเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
10.
เมื่อเสร็จสิ้นการแถลงข่าวให้ส่งเอกสารการแถลงข่าว ให้กับสื่อที่ไม่สามารถมาได้ทั้ง หมดนี้เป็นแนวทางในการแถลงข่าว ที่รวบรวมนำมาเสนอแบบคร่าวๆ

ข้อควรระวัง
-
มีพิธีกรเพื่อคอยช่วยผู้แถลงข่าวหรือไม่ในกรณีสื่อถามไม่ตรงประเด็น ใช้คำตอบว่า เป็นคำถามที่ดีมากครับ แต่ต้องขออภัยด้วยที่ไม่มีการพดูถึงเรื่องนี้ในการประชุมครั้งนี้ขอผ่านเป็น คำถามต่อไป
-
ผู้แถลงข่าวต้องมีความมั่นใจ สายตาไม่ส่ายไปมาการวางมือต้องอยู่นิ่ง เพราะภาพเหล่านี้จะปรากฏต่อสายตาผู้ชมทั่วประเทศ
-
ตอบคำถามด้วยคำตอบสั้น ๆ ตรงประเด็น ไม่เกิน 50 วินาที เพื่อสื่อสามารถนำไปออกอากาศ หรือตีพิมพ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องสรุป
-
สื่อโทรทัศน์ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาทีตั้งกล้องและเดินสายไมค์
-
จัดโต๊ะลงทะเบียนสื่อ พร้อมแจกข่าวต่างๆ

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมท้ายบทเรียน


บุญคุณไหนไม่เท่าบุญคุณแม่  ที่มีแต่ความรักไม่รู้จักเหนื่อย
ท่านห่วงใยใส่ใจเราทุกเมื่อ

         ให้นิสิตเขียนค้นหาคำคม หรือสุภาษิต ที่เกี่ยวข้องกับวันแม่ เช่น พระคุณแม่  ทำความดีอย่างไรให้กับแม่ พร้อมเขียนบทความลงในเว็บบล็อก และ
Print ส่ง พร้อมนำเสนอในสัปดาห์หน้า ความยาวในการนำเสนอไม่เกิน 2-3 นาที  ตามหลักการพูดเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

      พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบ       มิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกิน                ลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์
แม่เหน็ดเหนื่อยเริ่มแต่แม่ตั้งท้อง         เฝ้าประคองทั้งดวงใจไม่เหหัน
ทำทุกอย่างเพื่อลูกยาสารพัน                แม้คืนวันผันผ่านนานนับปี
ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ได้เรียนรู้             แม่ เฝ้าดูอยู่ข้างกายไม่หน่ายหนี
อยากเห็นลูกสุขสบายในชีวี                  เป็นคนดีที่ สังคมนั้นชมเชย
เหงื่อท่วมกายไม่เคยท้อแม้อ่อนล้า        หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ ดินแม่เมินเฉย
ลูกซาบซึ้งในบุญคุณมิลืมเลย                ขอชดเชยแทนทดจนหมดใจ.....


      ที่เลือกบทความนี้มาเพราะอ่านแล้วทราบซึ้งถึงพระคุณของแม่ว่ามีความยิ่งใหญ่ขนาดไหนกว่าแม่จะเลี้ยงเรามาจนเติบโตได้ขนาดนี้  แม่ต้องเหน็ดเหนื่อแค่ไหน แม่คอยโอบอุ้มตั้งท้องเรามาถึง9เดือน ทำทุกอย่างเพื่อจะให้ลูกสบาย อยู่ดีกินดี แม่จะลำบากขนาดไหนแม่ไม่เคยบ่น ทำงานทุกอย่างแทบจะอาบเหงื่อแทนน้ำแม่ก็ยอม ในฐานะที่เราเป็นลูกเราต้องทดแทนพระคุณของแม่ให้มากเท่ากับที่แม่ทำให้เราดังนั้นลูกที่ดี ควรประพฤติปฏิบัติตอบแทนคุณของท่านก็คือ ในเมื่อแม่เลี้ยงเรามาจนเติบใหญ่แล้วเราก็เลี้ยงท่านบ้างโดยให้ความสุขกายสบายใจแก่ท่าน แม้เป็นลูกยังเล็กอยู่ในวัยเป็นนักเรียน นักศึกษาอยู่ก็สามารถเลี้ยงดูน้ำใจของท่านได้ อย่าให้ท่านทุกข์ใจ เสียใจ กลุ้มใจ เพราะการกระทำของเรา คอยช่วยเหลืองานบ้านโดยการทำงานตามที่ท่านใช้ให้ทำ เป็นการแบ่งเบาภารกิจของท่าน ด้วยการรับงานซึ่งเป็นภาระอันหนักของท่านไปทำแทนเป็นต้น  และรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลรักษาสิ่งที่ดีงาม
ต่าง ๆ ของสกุลเอาไว้ไม่ให้เสื่อมในยุคในสมัยของตน

แบบฝึกหัดการแต่งกายให้ตอบคำถามลงใน weblog และprint ส่งในวันเรียนสัปดาห์ถัดไป


1 ประโยคที่ว่า  บุคลิกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง   นิสิตเห็นด้วยหรือไม่  จงให้เหตุผล weblog

        ตอบ  เห็นด้วย เพราะบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญในการจะทำงานต่างๆ จะต้องมีบุคลิกที่ดีเหมาะสมกับกาลเทศะดูแล้วน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นการพูด  ท่าทางการเดิน  ท่าการนั่ง   การแต่งกาย ต้องให้เหมาะสม  เช่นการที่เราจะไปสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์ก็จะดูบุคลิกก่อนว่าเหมาะกับงานที่จะทำหรือไม่  เราจึงต้องทำบุคลิกของเราเป็นที่ประทับใจของทุกคน
                                                         
2 ถ้านิสิตเป็นคนรูปร่างอ้วนควรแต่งกายอย่างไร พร้อมภาพประกอบ ลงในweblog


        ตอบ ถ้าเป็นคนที่มี รูปร่างอ้วนจะไม่สวมเสื้อที่มีเนื้อผ้าหนาๆ เพราะจะทำให้ดูใหญ่ขึ้นกว่าเดิม แต่จสวมเสื้อที่เนื้อผ้าบางๆ ชายเสื้อปล่อย เพื่อปกปิดหน้าท้อง และสีควรเป็นสีเดียวหรือโทนใกล้เคียงกัน ส่วนกางเกงควรใส่สีเข้มๆ ผ้าบางๆเช่นกัน และถ้ามีลายควรเป็นลายแนวดิ่งเพราะจะทำให้ขาดูเล็กลง และถ้าหากจะใส่กระโปรงก็ หากระโปรงคนอ้วนหรือชุดแซกแบบกระโปรงคนอ้วนที่เป็นทรงเอดีกว่า จะช่วยพรางสะโพกอันใหญ่ของเราได้และใส่เสื้อผ้าที่เป็นสีเข้มคอเสื้อควรเป็นคอวีจะช่วยให้ดูผอมเช่นกัน

4 ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้แต่งกายในวันเปิดตัวแถลงข่าง วีดิทัศน์หนังสั้น นิสิตจะแต่งกายอย่างไร 

      ตอบ  ในฐานะที่เป็นนิสิตก็จะแต่งชุดนิสิตเพราะเครื่องแบบนิสิตนักศึกษาเป็นเครื่องแบบที่อันทรงเกียรติและเป็นเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจในความเป็นปัญยาชน
ถูกต้อง  สะอาด เรียบร้อย     แต่ถ้าไม่ใช่นิสิตจะต้องแต่งกายใชุดยูนิฟอร์ม สะอาดเรีบยร้อย เหมาะกับกาลเทศะ

หนังสั้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เรื่องพิษรัก



เรื่อง พิษรัก
http://www.youtube.com/watch?v=xltr_ZQGOBo 

การฝึกพูดในที่สาธารณะเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์


การพูด
กระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดย
       1   ภาษา         2 น้ำเสียง         3  อากัปกิริยา

แนวคิดพื้นฐานการพูดในที่สาธารณะ
1       คนทุกคนย่อมพูดได้
2       การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3       นักพูดที่ดีไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์
4       ในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจนไม่มีทางที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก
5       การฝึกพูดจะเป็นผลดีต่อบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก

ลักษณะของการพูด(General Types of Speech)
1.       แบบจูงใจ  หรือชักชวน (Persuasive Speech)
2.       แบบบอกเล่า หรือ บรรยาย (Informative or Instructive Speech)
3.       แบบบันเทิง (Recreative Speech)

การพูดใช้มาก 2 วิธี
1.       วิธีพูดแบบพูดสด
2.       วิธีพูดแบบผสมผสาน


บัญญัติ  10  ประการทะยานสู่ความสำเร็จในการพูด
1       รู้เรื่องดี ก็พูดได้
2       เตรียมตัวไว้ ก็พูดดี
3       พูดทั้งที่ ต้องเชื่อมั่น
4       แต่งกายนั้น ต้องเหมาะสม
5       ปรากฏโฉม กระตือรือร้น
6       ไม่ลุกลน ใช้ท่าทาง
7       สบตาบ้าง อย่างทั่วถึง
8       ภาษาซึ้ง  เข้าใจง่าย
9       น้ำเสียงไซร้ เป็นธรรมชาติ
10 อย่าให้ขาดรูปธรรม

ศิลปะการพูดในโอกาสต่าง ๆ ในการพูด
1.       กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ
2.       กล่าวไว้อาลัย
3.       กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ
4.       กล่าวสดุดี
5.       กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ
6.       กล่าวต้อนรับ
7.       กล่าวแนะนำผู้พูด - องค์ปาฐก

ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่างๆ
1.       จุดมุ่งหมายของการชุมนุม
                  -  การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร
                 -  ผู้ฟังเป็นใคร มาประชุมในฐานะอะไร
                 -  สาระสำคัญของการชุมนุมอยู่ตรงไหน
2.       ลำดับรายการ
                -  มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร
                -  ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร กล่าวในนามใคร
               -  เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด หรือควรจะนานเท่าใด
               -  ก่อนหรือหลังการพูด มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดน่าสนใจพิเศาหรือไม่

เทคนิคในการพูดในโอกาสต่างๆ
1.       เปิดฉากให้น่าสนใจทันที
2.       จะให้ดี จงกล่าวสั้น ๆ
3.       พูดให้เกี่ยวข้องกับงานและคน
4.       อย่าสับสน จงพูดแต่ดี
5.       พูดให้มีหลักสุนทรพจน์

หลักการพัฒนาคำพูด 9 ประการ
1.       อ่านหนังสือพบประโยค หรือวลีมีคุณค่า จดไว้เป็นเสบียงกรัง
2.       จัดลำดับความคิดที่จะพูดให้คล้องจองเหมือนเรียงความ
3.       พูดจากหัวใจ  จริงใจ
4.       วิเคราะห์สถานการณ์การพูด คนฟัง สถานที่ เวลา เรื่องที่จะพูด
5.       ก่อนพูดเตรียมร่างกายให้ดี
6.       ดูเครื่องช่วยพูด เช่น ไมโครโพน
7.       พูดเหมือนการเขียน คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป
8.       ระลึกว่าการพูดเป็น ศาสตร์และ ศิลป์พูดให้สอดคล้องสีหน้าและอารมณ์
9.       กำหนดสารบัญการพูดในใจ จากใจ ที่ขึ้นใจ
 



บุคลิกภาพในการนำเสนอ


บุคลิกภาพขณะนำเสนอ
บุคลิกภาพขณะนำเสนอ คือ สภาวะทุกอย่างของผู้นำเสนอ ทั้งสภาวะทางกายและจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำในระหว่างการนำเสนอ บุคลกิภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญทำให้เรามั่นใจในขณะพูดและทำให้ผู้ฟังเกิดความ รู้สึกประทับใจและสนใจติดตามฟัง โดยไม่รู้สึกเบื่อหรือง่วงนอนก่อนที่เราจะพูดจบ

บุคลิกภาพที่ดีในการนำเสนอนั้นประกอบด้วย
1 การแต่งกาย
2 การใช้ภาษา
3 การใช้เสียง/จังหวะการพูด
4 การแสดงออกที่เหมาะสม

การแต่งกาย(Dressing)
การแต่งกายเป็นจุดแรกที่ดึงดูดสายตาผู้คน เครื่องแต่งกายเป็นตวับ่งบอกถงึบุคลกิ นิสัย ความเป็นมืออาชีพทำให้ผ้ฟังรู้สึกประทับใจก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีอยากติดตาม ฟัง

เทคนิคการแต่งกาย
1 ผม - เล็บตัดสั้น ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
2 เครื่องประดับ - ควรมีแต่พอเหมาะ
3 เสื้อผ้า
- แต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สีเรียบ ไม่ฉูดฉาด
- แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสถานที่
- ไม่ควรใส่ กระโปรงยาวหรือสั้นเกินไป (สำหรับสุภาพสตรี)

การใช้ภาษา
- ใช้ภาษาให้เหมาะกับกล่ม ผู้ฟัง
- ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน
- ใช้ภาษาที่สุภาพ อักขระถูกต้องและเข้าใจง่าย
- กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
การใช้เสียง/จังหวะการพูด
-  เป็นธรรมชาติไม่ทุ่มหรือแหลมจนเกินไป
-  พูด ด้วยความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
-  พูดให้ดังและชัดเจน ไม่ใช้ระดับเสียงเดียว
-  รู้จักการใช้เสียงสูงต่ำ ในการเน้นความหมายอย่างเหมาะสม

การแสดงออกที่เหมาะสม
1 การใช้สายตา (Eye Contact)
2 ภาษากาย (Body Language)
        - การนั่งนำเสนอ    -  การยื่นนำเสนอ  - มือ/แขน  - ใบหน้า/สีหน้า

การพูดในที่สาธารณะ


1. ในการพูด สร้างบุคลิกภาพที่ดี   ไม่ว่าจะเป็นวิทยากร   พิธีกร ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ
    1.1 ด้านภาพลักษณ์
    1.2 ด้านการพูด
    1.3 ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ
2. การเตรียมตัวก่อนการพูด
    2.1 เตรียมเนื้อหา  
    2.2 ฝึกซ้อม  
    2.3 การเตรียมใจ  
3. การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
    3.1 การจัดเตรียมไมค์   
    3.2 วิธีการจัดไมค์ที่ถูกต้องในการพูด
4. การวางท่าทางขณะพูด
    4.1 กรณีที่ยืนตรง  
    4.2 การวางมือ
    4.3 กวาดสายตาไปทั่วห้อง
5. เทคนิคการสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
    5.1 การสร้างความคุ้นเคยกบั ผู้ฟัง
    5.2 การตั้งคำถามกับผู้ฟัง
    5.3 ควรมีการยกตัวอย่าง
    5.4 พูด ด้วยน้ำเสียงสูง ต่ำ
    5.5 มีการสอดแทรกมุกตลก
    5.6 มีการนำเสนอแบบหักมุม
    5.7 การใช้กิจกรรมที่ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
6. เทคนิคการแนะนำประวัติวิทยากร
    6.1 กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา
    6.2 กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร 
    6.3 กล่าวถึงลักษณะเด่น
    6.4 กล่าวถึงประวัติการณ์ศึกษา
    6.5 กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุล ของวิทยากร
    6.6 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ
7. ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการเปิดประชุม /  ฝึกอบรม
    7.1 ไหว้แนะนำตัว
    7.2 กล่าวถึงความเป็นมา
    7.3 เมื่อประธานมาถึง
    7.4 เมื่อประธานพร้อม
เทคนิคการ บรรยายให้มีประสิทธิภาพ
    - ตั้งวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
    - กำหนดประเด็นของเนื้อหา
    - อธิบายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น
    - กำหนดเนื้อหา และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
    - การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง 
    - การเชื่อมต่อประเด็น
    - การสรุปประเด็น
การเตรียมตัวต้องพิมพ์งานนำเสนอในรูปแบบเอกสารสำรองเพื่องานนำเสนอในรูปดิจิตอลไฟล์ผิดพลาด
  เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี ท่าทีให้สง่า หน้าตาสุขุม ทักที่ประชุมไม่วกวน เริ่มต้นให้โน้มน้าว เรื่องราวกระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่าให้มีเอออ้า ดูเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ