วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัลและสื่อประสม

หนังสั้น คือ เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10 นาที โดยสะท้อนเรื่องราวสาระที่เกิดขึ้นและจบอย่างรวดเร็ว

กระบวนการคิด
1 เล่าเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง
2 เล่าเพราะเห็นเจอมา
3 เล่าเพราะจินตนาการ
ยึดหลัก 3องค์ประกอบ
1 การเปิดตัวละคร  เปิดตัวละครจนเหตุการณ์พลิกผัน
2 ส่วนกลางเรื่อง เล่าเรื่องที่อยู่ไปสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้าสู่(ช่วงจบ)
3 สรุปของเรื่อง คุณสามารถนำเอาหลัก3องค์ไปปรับใช้ได้กับการเล่าเรื่องทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโรแมนติก หรือ
หนังแอ็คชั่นเลือดท่วม
ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น 


1     ขั้นเตรียมการการ                                                                                                          
1.1  สำรวจ ความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
          1.2  วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
           1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
     1.4 วาง แผนการถ่าย
2   ขั้นการผลิต(Production)
      คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ตามบทที่ได้เขียนไว้
         3  ขั้นหลังการผลิต(Post-Production)
             คือ การตัดต่อลำดับภาพในขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการผลิต
       4  ขั้นประเมินผล (Evaluation)
            เป็นการประเมินผลเมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงจำนวนหนึ่งเพื่อนำข้อมูลต่างๆมาปรับปรุงแก้ไข
     5 ขั้นเผยแพร่
             การเผยแพร่วีดิทัศน์ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
       
 




วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
    แม่สีหรือสีขั้นต้น ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ที่สีทั้ง3นี้ถือเป็นสีหลัก เพราะ เป็นสีที่ไม่สามารถเกิดขึ้นจากการผสมของสีอื่นๆ และยังเป็นสีต้นกำเนิดของสีอื่นๆด้วย
ชุดสีร้อน
   ประกอบด้วยสีม่วง แดง แกมม่วง แดง ส้ม เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้ สร้างความรู้สึกอบอุ่น   สบาย  ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย
 ชุดสีเย็น
      ประกอบด้วยสีม่วง น้ำเงิน น้ำเงินอ่อน ฟ้า น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ให้ความรู้สึกเย็นสบาย
หลักการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี
  • ใช้สีสดเพื่อกระตุ้นให้เห็นชัดเจน
  • นึกถึงหลักความเป็นจริง ความถูกต้อง
  • นึกถึงงบประมาณ
  • ใช้สีให้เหมาะกับวัยของผู้บริโภค
  • การใช้สีมากเกินไปอาจทำให้ลดความเด่นของงานและสาระที่นำเสนอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นในสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นที่ว่างมากๆ เพราะจะขาดความเร้าใจ
  • การใช้สีบนตัวอักษรข้อความต้องชัดเจน อ่านง่าย
การใช้สีตามหลักการใช้สี
1.               เพื่อให้สีแต่ละสีประสานกลมกลืนกัน
2.               เพื่อให้สีแต่ละสีประสานส่งเสริมซึ่งกัน
การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง
  สีใกล้เคียง หมายถึง สีที่อยู่ใกล้เคียงกันในวงจรสี เรากำหนดสีใกล้เคียง โดยการยึดสีใดเป็นหลักก่อนแล้วนับไปทางซ้ายหรือขวา หรือทั้ง2ทาง นับรวมกับสีหลักแล้วไม่เกิน4สี
  การกลับค่าของสี(DISCORD)
      การสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสมได้จังหวะส่งเสริมให้มีสีสันน่าดูขึ้นทั้งนี้เพราะการใช้สีกลมกลืนบางครั้งดูจืดชืดเกินไปการสร้างความขัดแย้งในบางจุดทาให้ภาพดูตื่นเต้นขึ้น

      คู่สีตรงข้าม
    โครงสีตรงข้าม คือ การใช้ชุดสีหรือคู่สีที่ตัดกันรุนแรง เป็นสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีและเป็นสีที่อยู่ต่างวรรณะกัน สีสองสีเมื่อนามาใช้คู่กันจะทาให้สีทั้งสอง มีความสว่าง และสดใสมากขึ้น การใช้สีแบบนี้ให้ความรู้สึกตื่นเต้น มีชีวิตชีวา มีพลังการเคลื่อนไหวและเร้าความสนใจได้ดี อย่างไรก็ตามอาจทาให้ผู้ดูรู้สึกเบื่อได้ง่ายเช่นกัน สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี มีทั้งหมด 6 คู่ คือ1. สีเหลือง กับ สีม่วง
    2. สีเขียว กับ สีแดง
    3. สีส้ม กับ สีน้าเงิน
   4. สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
   5. สีเขียวน้าเงิน กับ สีส้มแดง
  6. สีส้มเหลือง กับ สีม่วงน้าเงิน
  องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
จุด (Point)
    จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตำแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาวความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆดังเช่น จุด A จุด
เส้น (Line)
      เส้นเกิดจากการนาจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกัน หรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือ เส้น มีความยาว ไม่มีความกว้างหรือความหนามาก การกำหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกัน จะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ดูมั่นคง บางครั้งดูเคลื่อนไหว และเจริญงอกงาม เติบโต เช่น
  • เส้นตั้ง (Vertical Line) ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านามาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น
  • เส้นนอน (Horizontal Line) ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
  • เส้นเฉียง (Oblique Line) ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
  • เส้นโค้ง (Curve) จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว
  •  
  • เส้นกระจาย เป็นเส้นที่ออกจากจุดศูนย์กลางให้ความรู้สึก มีพลังกระปรี้กระเปร่า สร้างสรรค์ เดินทางออกไปทุกทิศพร้อมๆกัน พองออก แตกตัว
  • เส้นลักษณะอื่นๆ เช่น เส้นหยัก เส้นประ เส้นจุดผสมเส้นประ ต่างก็ให้ความรู้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะนาไปประกอบกับรูปอะไร    
ทิศทาง (DIRECTION)
         ทิศทาง คือ ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่า รูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว (Movement) นาไปสู่จุดสนใจ
 ทิศทาง (DIRECTION)
         ทิศทาง คือ ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่า รูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว (Movement) นาไปสู่จุดสนใจ
รูปทรง (FORM)
           เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทาให้เกิดปริมาตร (Volume) มี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ
รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form ) เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน
รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form) มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว
รูปทรงอิสระ (Free Form) รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้
 เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู
           จากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทาให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทาให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์

ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)
ขนาด(Size) 
 คือ การเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรง การวัดสัดส่วน ระยะหรือขอบเขต
ของรูปร่างนั้นๆสัดส่วน (Scale) 

สัดส่วน คือ ความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน
การหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคำนึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก

วัสดุและพื้นผิว ( Material and Texture )
         วัสดุ คือ วัตถุดิบที่จะนามาใช้ในการออกแบบ โดยเลือกความเหมาะสม ตรงตามลักษณะของงาน ถ้าทาลงบนกระดาษวาดเขียน อาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสง ถ้าทาลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรืออักษรลอกแบบสีโปร่งแสง เป็นต้น
       พื้นผิว คือ ลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุ อาจนาวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมา สร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือความรู้สึกในการแยก จำแนกความเรียบความขรุขระ ความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิก สามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัส ทางตา เป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกต่างกัน
       ผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง สาก สะดุด หยาบ ระคายเคือง ในบางสถานะทาให้ดูเล็กกว่า ความจริง เช่น ผิวขรุขระของกาแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงหรือหิน กาบ จะดูแข็งแรงบึกบึน ในการสร้างงานกราฟิกลงบนกระดาษ เช่น รูปหลังคาบ้านลายสังกะสี กระเบื้องลอนแบบต่างๆ ผนังตึก ซึ่งลวดลาย ขรุขระ เหล่านี้จะนามาจากแผ่นรูปลอก ซึ่งใน ปัจจุบันใช้ลวดลายสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์
      ผิวเรียบมัน ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ลื่น หรูหรา วาบหวาม สดใส แสงสะท้อน ในบางสถานะทาให้ดูใหญ่กว่าปกติ เช่น ผนังตึกที่ฉาบปูนเรียบหรืออาคารที่เป็นกระจกทั้งหลัง จะดูเปราะบาง แวววาว ตัวอย่างงานกราฟิกที่ต้องการความเป็นมันวาว ที่ใช้เทคนิคแผ่นรูปลอกที่มีลายไล่โทนสำเร็จรูป
 ระนาบ (Plane)
        ระนาบ คือ เส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกัน จนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมา แบ่งได้ดังนี้
1. Overhead plane ระนาบที่อยู่เหนือศีรษะอยู่ข้างบน ให้ความรู้สึกปลอดภัย เหมือนมีหลังคาคลุม มีสิ่งปกป้องจากด้านบน
2. Vertical plane ระนาบแนวตั้ง หรือตัวปิดล้อม เป็นส่วนบอกขอบเขตที่ว่าง ตามแนวนอน ความกว้าง ความยาว
3. Base plane ระนาบพื้น ระดับดิน หรือระดับเสมอสายตา อาจมีการเปลี่ยนหรือเล่นระดับเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆ
 การจัดองค์ประกอบ(Composition)
  ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
  •  สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทาให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
  • สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance) ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้าหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้าหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจานวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น                               
การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis)
       ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ
จิตวิทยากับการออกแบบและการนาเสนอ 
 หลักและวิธีในการใช้การเน้น
     -เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
     -เน้นด้วยการประดับ
     -เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
     -เน้นด้วยการใช้สี
     -เน้นด้วยขนาด
     -เน้นด้วยการทาจุดรวมสายตา

เอกภาพ (Unity)  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ
เอกภาพแบบหยุดนิ่ง (Static unity) โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตทาให้เกิดลักษณะหนักแน่น
จิตวิทยากับการออกแบบและการนาเสนอ
เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity) ใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทาให้เคลื่อนไหวสนุกสนาน

ความกลมกลืน (Harmony) การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้าย ๆ กันมาจัดภาพทาให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบ คือ
1 กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน 
2 กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า& โลโก้ 
3 กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่
    3.1 กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง
    3.2 กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง
    3.3 กลมกลืนด้วยวัสดุ
    3.4 พื้นผิว
    3.5 กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน
    3.6 กลมกลืนด้วยขนาด-สัดส่วน
    3.7 กลมกลืนด้วยน้าหนัก

ความขัดแย้ง (Contrast)
          การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น   น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ด้วยคอมพิวเตอร์เทคนิคเบื้องต้น

การออกแบบด้วยสื่อดิจิทัลนำเสนอผลงานด้วย Power Point
ตัวอย่างสื่อการนำเสนอ
กระดานขาว หรือดำ
แผ่นใส
สไลด์ 35 มม.
คอมพิวเตอร์ (Power Point)
•Visualizer
โปสเตอร์  
การนำเสนอด้วยPower point
ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
เสียเวลาในการเรียนวิธีใช้โปรแกรม
ยุ่งยากต่อการออกแบบสไลด์
ต้องการเครื่องฉายสไลด์
ทำไมต้อง Power point ?
แก้ไขข้อความได้ง่าย
ภาพที่ออกมาคมชัด
ง่ายต่อการควบคุมการเปลี่ยนสไลด์
เพิ่มภาพประกอบได้
ใส่ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงได้
พิมพ์ออกเพื่อเตรียมตัวนำเสนอ
ขบวนการผลิตสื่อโดย Power Point
ออกแบบ   สร้าง     เก็บ   พิมพ์   นำเสนอ
 ส่วนประกอบในสไลด์
แผ่นสไลด์
ตัวอักษร
ภาพประกอบ
กราฟ
• Flow Chart
ตาราง
ภาพเคลื่อนไหว
เสียง
 การวางรูปแบบของสไลด์
ใช้รูปแบบ Slide 35 mm
วางแนวนอน
ใช้ Templates ที่มีในโปรแกรม
เว้นขอบทั้ง 4 ด้านให้ว่าง ~ 0.5 นิ้ว
แนวทางการออกแบบ PowerPoint
สื่อถึงเนื้อหาที่นาเสนอ
หนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งความคิด
ชัดเจนและสะดวกต่อการอ่าน
ความสมดุลและคงเส้นคงวา
ใช้ภาพประกอบเมื่อจาเป็น
 ส่วนประกอบการออกแบบ PowerPoint
1. Introduction ได้แก่ ชื่อเรื่อง/ชื่อผู้นำเสนอ/หน่วยงาน
2. ลำดับหัวข้อในการนำเสนอ
3. เนื้อหาตามลำดับหัวข้อ
4. บทสรุปการนำเสนอ
5. อ้างอิง หรือ ขอบคุณ
สีและตัวอักษร
พื้นมืดตัวอักษรสว่างเงาของตัวอักษรต้องมืดกว่าสีพื้น
ตัวอักษรต้องอ่านง่าย
ชนิดตัวอักษร True Type Font
ใช้ 1 หรือ 2 ชนิดของตัวอักษร
ขนาด 36 –60 point + ตัวหนาหลีกเลี่ยงใช้สีสะท้อนแสง/โทนร้อน/ฉูดฉาด
ตัวอักษรตัดขอบไม่ควรใช้
เนื้อหาต้องไม่แน่นจนเกินไปสูงสุด 8 บรรทัดต่อ 1 สไลด์
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด (อังกฤษ)